Home » Posts tagged 'ปัญหาวรรณคดีไทย'
Tag Archives: ปัญหาวรรณคดีไทย
ปัญหาวรรณคดีไทย กับปัญหา Sexism ที่เรื้อรังในโครงสร้างทางสังคม
เคยมีไหมที่ได้ศึกษาเรื่องของวรรณคดีของเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพระอภัยมณี อิเหนา ขุนช้างขุนแผน รามเกียรติ์ หรือวรรณคดีไทยเรื่องอื่นที่มีเนื้อหาไปในทาง Sexism หรือปัญหาการเหยียดเพศที่เกิดขึ้นในสมัยก่อน ซึ่งเรื่องราวในวรรณคดีนำมาใช้ในการศึกษาของไทยในปัจจุบัน
อีกทั้งยังเป็นการยอมรับที่ไม่สมควรยอมรับเท่าไหร่ โดยเฉพาะเนื้อหาบางตอนในวรรณคดีไม่สมควรเป็นสิ่งที่นำมาสอนในการเรียนการสอนของการศึกษาไทยเลย จึงกลายเป็นการศึกษาที่สร้างความเหลื่อมล้ำทางเพศได้ชัดเจน
ในโลกปัจจุบัน ปัญหาวรรณคดีไทย มิใช่เพียงแค่ระหว่างชายกับหญิงเท่านั้น หากแต่ยังมีความหลากหลายทางเพศเข้ามา การนำวรรณคดีมาใช้จึงกลายเป็นไม่ได้คุณค่าทางวรรณศิลป์เท่าที่ควรนัก จึงขอแบ่งเป็นข้อๆ ของการศึกษาไทยในปัจจุบันว่าทำไมวรรณคดีเหล่านั้นไม่ได้ทำให้โครงสร้างทางสังคมดีขึ้นเลยแม้แต่น้อย
ปัญหาวรรณคดีไทย ที่ยังยึดติดค่านิยมสมัยโบราณ
ปัญหาวรรณคดีไทย ประการแรกจะสนใจแค่เรื่อง ค่านิยมชายเป็นใหญ่ โดยเนื้อหาของวรรณคดีในระบบการศึกษาไทย ยังเสนอด้วยค่านิยมชายเป็นใหญ่อยู่ เนื่องจากเอาความสมัยโบราณมาใช้ บางเรื่องมีชื่อเสียงในสมัยอยุธยาตอนปลายจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ในช่วงนั้นยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องของการให้เกียรติกันระหว่างเพศที่ดีนัก จึงมองว่าชายคือเท้าช้างหน้า หญิงคือเท้าช้างหลัง รวมทั้งยังนำเสนอบทบาททางเพศที่ลดบทบาทในเพศหญิงมากพอสมควร แต่ลืมในเรื่องของผิดชอบชั่วดี
ปัญหาวรรณคดีไทย ประการที่สองจะสนใจแค่เรื่อง มองผู้หญิงไม่สวยเป็นนางรองหรือนางร้าย เพราะข้อนี้ถือว่าเป็นการสร้างค่านิยมอันตรายมากโดยเฉพาะรามเกียรติ์ ที่มีบรรยายในตอนนางสำมนักขา ซึ่งเป็นน้องสาวของทศกัณฐ์ ที่แอบหลงรักพระรามแต่พระรามขับไล่ไสส่ง และนางผีเสื้อสมุทร ที่เป็นยักษ์รักพระอภัยมณีข้างเดียว
โดยถ้ามองในปัจจุบัน การทำเช่นนั้นถือว่าทำร้ายจิตใจต่อกันรุนแรง หรือมองว่าคนไม่สวยไม่สมควรที่จะสมหวังกับอะไรเลย ซึ่งไม่ควรให้น้ำหนักทางรูปลักษณ์เกินไป หรือนางวาลีที่บรรยายถึงรูปลักษณ์ในเชิงเหยียดแต่มีความฉลาดตอนช่วยตีเมืองผลึกในเรื่องพระอภัยมณี นี่ก็ออกแนวเหยียดหยามรูปลักษณ์ภายนอกเกินไป จริงๆ ไม่ว่าใครสวยหรือไม่สวย ควรมีซีนที่ควรค่าแก่การศึกษามาก ไม่ใช่แค่มองว่าแบบนี้สวย ขี้เหร่
ปัญหาวรรณคดีไทย ประการที่สามจะสนใจแค่เรื่อง ทัศนคติครองคู่ที่ไม่เหมาะสม เคยได้ยินคำด่าที่นิยมด่ากันคือ “อีวันทอง” “อีกากี” ซึ่งเป็นตัวละครในวรรณคดีที่มาจากผลกระทบของชายเป็นใหญ่ การสอนในเรื่องเพศล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ซึ่งผู้ชายเจ้าชู้ไม่ใช่เรื่องผิด
หากแต่ผู้หญิงเจ้าชู้คือคนที่น่ารังเกียจ ถูกยัดเยียดหรือถูกกระทำให้เลวร้าย หากพวกเขาไม่ยัดเยียดสิ่งไม่ดีให้กับพวกเธอ ชีวิตพวกเธอจะมีคุณค่ามากกว่านี้ เผลอๆ ชื่อของเธออาจจะไม่ใช่คำด่าก็เป็นได้ จึงไม่ใช่เรื่องที่เอาเป็นแบบอย่างในการศึกษาไทยเลย ถ้าหากรู้จักนำวรรณคดีเป็นกรณีศึกษา ให้รู้ว่านี่คือมนุษย์เท่าเทียมกัน เยาวชนอาจจะไม่ล้มเหลวทางการศึกษาก็ได้
ติดตามข่าวสาร ข้อมูลด้านการศึกษา ที่เราได้นำมาให้คุณถึงที่ในเว็บไซต์นี้