เวลาที่เด็กนักเรียนวัยมัธยมก้าวข้ามไปสู่ระดับชั้นมหาวิทยาลัย จะต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่ ทั้งเรื่องการจัดตารางชีวิต เนื้อหาที่ต้องเรียน แล้วไหนจะต้องเรียนรู้ สังคมมหาวิทยาลัย อีกด้วย
โดยในส่วนสุดท้ายนี่แหละที่มันเป็นปัญหา เราฝึกฝนให้เด็กวัยมัธยมอยู่ในกฎระเบียบมากมาย ทุกอย่างต้องทำตามแนวทางที่ครูวางไว้ คิดนอกกรอบก็ไม่ค่อยได้ อยากจะปรับเปลี่ยนอะไรภายในโรงเรียนให้ตอบโจทย์นักเรียนก็ทำได้ยากเหลือเกิน
สังคมมหาวิทยาลัย ที่ต้องมีีความรับผิดชอบทุกอย่าง
แต่พอมาอยู่ใน สังคมมหาวิทยาลัย ทุกอย่างกลับเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ คล้ายกับสังคมการทำงานของผู้ใหญ่มากยิ่งขึ้น ต้องติดตามกำหนดการต่างๆ เอง ไม่มีครูประจำชั้น ไม่มีคนบังคับให้ไปเรียน และต้องรับผิดชอบทุกอย่างเองทั้งหมด หากมีเพื่อนสมัยมัธยมสอบติดคณะและมหาวิทยาลัยเดียวกัน ก็พอช่วยให้การปรับตัวนั้นเกิดอย่างค่อยเป็นค่อยไปได้บ้าง แต่ถ้ามาตัวคนเดียวโดดๆ งานนี้ก็สาหัสสำหรับเด็กใหม่อยู่เหมือนกัน
หลายคนอาจจะมองว่านี่เป็นเรื่องปกติ เวลาเปลี่ยนสถานะไปแล้วก็ต้องมีการปรับตัว ทุกคนต้องเรียนรู้เองเหมือนกันหมด นักเรียนที่ไปอยู่ใน สังคมมหาวิทยาลัย ก็เช่นเดียวกัน ไม่น่าจะยกขึ้นมาเป็นประเด็นปัญหาอะไรใหญ่โต แต่ความจริงแล้ว มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่แบกรับไม่ไหว จนต้องลาออกเพื่อหนีไปอยู่ที่อื่น เพราะความกดดันต่างๆ มันไม่ใช่แค่การปรับตัวให้ใช้ชีวิตอยู่ได้ตามสไตล์ที่คนทั่วไปมองเห็น แต่มันยังมีเรื่องภายในที่คนนอกไม่รู้อีกมาก เช่น ความปลอดภัย ความรุนแรงทางร่างกาย ความรุนแรงทางจิตใจ เป็นต้น
ทีนี้พอมองมาถึงทางแก้ไข ก็พอเข้าใจได้ทั้งในฝ่ายของมหาวิทยาลัยและฝ่ายของนักเรียน เพราะ สังคมมหาวิทยาลัย เป็นสังคมที่ค่อนข้างกว้าง จะให้ครูไปดูแลนักเรียนนักศึกษาอย่างใกล้ชิดก็คงไม่ได้ หรือจะออกมาตรการดูแลอย่างไร ก็คงไม่ทั่วถึงในจุดเล็กๆ อยู่ดี การสร้างภูมิคุ้มกันให้นักเรียนตั้งแต่วัยมัธยมจึงเป็นทางเลือกที่พอจะทำได้ในตอนนี้ ฝึกให้เด็กเรียนรู้ว่า เมื่อเปลี่ยนระดับชั้นแล้วจะเป็นอย่างไร การเจอสังคมที่มีผู้คนหลากหลายกว่าห้องสี่เหลี่ยมจะเป็นอย่างไร แล้วพ่อแม่ก็ต้องคอยช่วยดูแลอีกทางหนึ่งด้วย
คุณจะได้ติดตาม ข้อมูลข่าวการศึกษา ได้ที่เว็บไซต์นี้